วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2561

IP Address

IP Address

IP Address คืออะไร ไอพี แอดเดรส คือ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์
     IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด  เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1  เป็นต้น  โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง Computer ของเราอยู่ใน Network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร
     เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126
     สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ  อย่างเช่น  Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ  โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ
ตัวอย่าง IP Address
- Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
- Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
- Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ip address คือ

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2561

โปรแกรมประยุกต์สำหรับเครือข่าย

โปรแกรมประยุกต์สำหรับเครือข่าย

โปรแกรมประยุกต์ หรือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น ในบางครั้งเรียกย่อว่า แอปพลิเคชั่น หรือ แอป คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบให้รับรองการทำงานหรือกิจกรรมหลายด้านเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ ตัวอย่างแอปพลิเคชั่นได้แก่ โปรแกรมประมวลคำ (word processor), แผ่นตารางทำการ (spreadsheet), แอปพลิเคชั่นบัญชี (accounting application), เว็บเบราว์เซอร์, แอปพลิเคชั่นเล่นคลิปสื่อ (media player), โปรแกรมจำลองการบิน (flight simulator), เกมคอนโซล, หรือ โปรแกรมตัดต่อภาพ คำว่าซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นหมายถึงแอปพลิเคชั่นทั้งหมด ส่วนคำว่าซอฟต์แวร์ระบบ (system software) มักหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ แอปที่ถูกสร้างสำหรับใช้งานบนมือถือเรียกว่าแอปมือถือ (mobile app)

บริการเวิลด์ไวด์เว็บ
WWW (World Wide Web) รู้จักกันดีในชื่อเครือข่ายใยแมงมุม เป็นบริการในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน บริการเวิลด์ไวด์เว็บเป็นสถาปัตยกรรมโครงข่ายสำหรับเชื่อมโยงเอกสารที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้สามารถสืบค้นได้ง่ายโดยมีการทำงานในลักษณะผู้ขอใช้บริการ-ผู้ให้บริการ  (Client/Server) บริการเวิลด์ไวด์เว็บเกิดขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ.1989 โดย Tim Berners-Lee เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัย European  Particle Physics (CERN) ในเจนิวา ตอนแรก Tim ต้องการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลงานวิจัยในด้านฟิสิกส์ แต่พบว่าข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บไม่เหมาะกับการจัดเก็บลงฐานข้อมูลแบบเดิมที่มีใช้งานอยู่ในขณะนั้น Tim จึงได้หันมาใช้
วิธีการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลแบบ Hypertext (Hypertext Network of Information) ซึ่งทำให้เอกสารต่างๆที่มีอยู่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้

โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)
โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการรับส่งจดหมายผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งให้บริการได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการใช้บริการไปรษณีย์ธรรมดามาก สามารถรับส่งข่าวสารได้ทั้งแบบตัวอักษร ภาพ และเสียง ทำให้การติดต่อสื่อสารไม่มีขีดจำกัด และเป็นระบบที่ได้รับความนิยมในการใช้บริการสูงในเครือข่ายปัจจุบัน


โปรแกรม SSH (Secure Shell)
SSH เป็นโปรแกรมประยุกต์ในกลุ่มที่เรียกว่า Virtual Terminal ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน เรียกว่า Local host เป็นแป้นพิมพ์และจอภาพเสมือนของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เรียกว่า Remote host เพื่อใช้งานโปรแกรม ข้อมูล หรือทรัพยากรอื่นในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้ โดยผู้ใช้จะมีความรู้สึกเสมือนหนึ่งได้ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นโดยตรง การทำงานของVirtual Terminal เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างโปรแกรมผู้ขอใช้บริการ SSH บนเครื่อง Local host และโปรแกรมผู้ให้บริการ SSH บนเครื่อง Remote host

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ลำดับขั้นของโพรโตคอล

ลำดับขั้นของโพรโตคอล



1. ชั้นโฮสต์-เครือข่าย (Host-to-Network Layer)
        โพรโตคอลสำหรับการควบคุมการสื่อสารในชั้นนี้เป็น สิ่งที่ไม่มีการกำหนดรายละเอียดอย่างเป็นทางการ หน้าที่หลักคือการรับข้อมูลจากชั้นสื่อสาร IP มาแล้วส่งไปยังโหนดที่ระบุไว้ในเส้นทางเดินข้อมูลทางด้านผู้รับก็จะทำงานใน ทางกลับกัน คือรับข้อมูลจากสายสื่อสารแล้วนำส่งให้กับโปรแกรมในชั้นสื่อสาร

2. ชั้นสื่อสารอินเทอร์เน็ต (The Internet Layer)
        ใช้ประเภทของระบบการสื่อสารที่เรียกว่า ระบบเครือข่ายแบบสลับช่องสื่อสารระดับแพ็กเก็ต (packet-switching network) ซึ่งเป็นการติดต่อแบบไม่ต่อเนื่อง (Connectionless) หลักการทำงานคือการปล่อยให้ข้อมูลขนาดเล็กที่เรียกว่า แพ็กเก็ต (Packet) สามารถไหลจากโหนดผู้ส่งไปตามโหนดต่างๆ ในระบบจนถึงจุดหมายปลายทางได้โดยอิสระ หากว่ามีการส่งแพ็กเก็ตออกมาเป็นชุดโดยมีจุดหมายปลายทางเดียวกันในระหว่าง การเดินทางในเครือข่าย แพ็กเก็ตแต่ละตัวในชุดนี้ก็จะเป็นอิสระแก่กันและกัน ดังนั้น แพ็กเก็ตที่ส่งไปถึงปลายทางอาจจะไม่เป็นไปตามลำดับก็ได้

3. ชั้นสื่อสารนำส่งข้อมูล (Transport Layer)
แบ่งเป็นโพรโตคอล ชนิดตามลักษณะ ลักษณะแรกเรียกว่า Transmission Control Protocol (TCP) เป็นแบบที่มีการกำหนดช่วงการสื่อสารตลอดระยะเวลาการสื่อสาร(connection-oriented) ซึ่งจะยอมให้มีการส่งข้อมูลเป็นแบบ Byte stream ที่ไว้ใจได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด ข้อมูลที่มีปริมาณมากจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็กๆ เรียกว่า message ซึ่งจะถูกส่งไปยังผู้รับผ่านทางชั้นสื่อสารของอินเทอร์เน็ต ทางฝ่ายผู้รับจะนำ message มาเรียงต่อกันตามลำดับเป็นข้อมูลตัวเดิม TCP ยังมีความสามารถในการควบคุมการไหลของข้อมูลเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ส่ง ส่งข้อมูลเร็วเกินกว่าที่ผู้รับจะทำงานได้ทันอีกด้วย

4. ชั้นสื่อสารการประยุกต์ (Application Layer)
            มีโพรโตคอลสำหรับสร้างจอเทอร์มินัลเสมือน เรียกว่า TELNET โพรโตคอลสำหรับการจัดการแฟ้มข้อมูล เรียกว่า FTP และโพรโตคอลสำหรับการให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า SMTP โดยโพรโตคอลสำหรับสร้างจอเทอร์มินัลเสมือนช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกับ เครื่องโฮสต์ที่อยู่ไกลออกไปโดยผ่านอินเทอร์เน็ต และสามารถทำงานได้เสมือนกับว่ากำลังนั่งทำงานอยู่ที่เครื่องโฮสต์นั้น โพรโตคอลสำหรับการจัดการแฟ้มข้อมูลช่วยในการคัดลอกแฟ้มข้อมูลมาจากเครื่อง อื่นที่อยู่ในระบบเครือข่ายหรือส่งสำเนาแฟ้มข้อมูลไปยังเครื่องใดๆก็ได้ โพรโตคอลสำหรับให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ช่วยในการจัดส่งข้อความไปยัง ผู้ใช้ในระบบ หรือรับข้อความที่มีผู้ส่งเข้ามา

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ประเภทของเครือข่าย(LAN , MAN , WAN)

ประเภทของเครือข่าย(LAN , MAN , WAN)

ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3 วิธีคือ

1. LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 1. LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น

เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก     อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน  คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น  การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน

2. MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ MAN (Metropolitan Area Network)

ระบบแมน (MAN : Metropolitan Area Network) เป็นระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อกันในระหว่างที่กว้างใหญ่ ครอบคลุมระยะทางเป็น 100 กิโลเมตร ที่มีการติดต่อกันในระยะที่ไกลกว่าระบบแลนและใกล้กว่าระบบแวน เป็นการติดต่อระหว่างเมือง เช่น กรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ เชียงใหม่กับยะลาหรือเป็นการติดต่อระหว่างรัฐ โดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Ring ตัวอย่างเช่น ระบบ FDDI (Fibre Data Distributed Interface) ที่มีรัศมีหรือระยะทางการเชื่อมต่ออยู่ที่ 100 กิโลเมตร อัตราความเร็วอยู่ที่ 100 Mbps มีรูปแบบการเชื่อมต่อที่ประกอบด้วยวงแหวนสองชั้นๆ แรกเป็น Primary Ring ส่วนชั้นที่ 2 เป็น Secondary Ring หรือ Backup Ring โดยชั้น Secondary Ring จะทำงานแทนกันทันทีที่สายสัญญาณใน Primary Ring ขาด
FDDI เป็นโปรโตคอลของเครือข่ายที่เน้นการจัดส่งข้อมูลที่ความที่ความเร็วสูง ส่งได้ในระยะทางที่ไกลและมีความน่าเชื่อถือสูง เนื่องจากใช้สายใยแก้วนำแสง จึงมีผู้นำ FDDI สูง มาใช้เป็นแบ็กโบนเพื่อการขนส่งข้อมูล อย่างไรก็ดีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ FDDI สูง ประกอบกับการที่ระบบ Gigabit Ethernet ถูกออกแบบมาให้แทนที่ FDDI ดังนั้นโครงข่ายนี้กำลังถูกกลืนด้วยวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีในที่สุด

3. WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 3. WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
 เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561

อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์

 อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์


 1. การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card) หรือการ์ดแลน หรืออีเทอร์เน็ตการ์ด ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่เข้ากับระบบเครือข่ายได้ เช่น ในระบบแลนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะต้องมีการ์ดเครือข่ายที่เชื่อมโยงด้วยสายเคเบิลจึงสามารถทำให้เครื่องติดต่อเครือข่ายได้
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
   2. ฮับ (Hub) คือ อุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลาย ๆ สถานีเข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับ-ส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือ IEEE802.3 ข้อมูลที่รับ-ส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งกระจายไปยังทุกสถานีที่ติดต่ออยู่บนฮับนั้น ดังนั้นทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมดแต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส (address) ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูลหรือแพ็กเกจ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
  3. สวิตช์ (Switch) คือ อุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับ-ส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ คือ การฮับ-ส่งข้อมูลจากสถานีหรืออุปกรณ์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูลหรือแพ็กเกจมาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่าแอดเดรสของสถานีหลายทางไปที่ใด สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะ ไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 3. สวิตช์ (Switch)
    4. บริดจ์ (Bridge) คือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับเครือข่ายหลาย ๆ กลุ่มที่เชื่อมต่อกันเนื่องจากสามารถแบ่งเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันหลาย ๆ เซ็กเมนต์แยกออกจากกันได้ ทำให้ข้อมูลในแต่ละเซ็กเมนต์ไม่ต้องวิ่งไปทั่วทั้งเครือข่าย กล่าวคือ บริดจ์สามารถอ่านเฟรมข้อมูลที่ส่งมาได้ว่ามาจากเครื่องในเซ็กเมนต์ใด จากนั้นจะทำการส่งข้อมูลไปยังเครื่องซึ่งอาจอยู่ในเซ็กเมนต์เดียวกันหรือต่างเซ็กเมนต์ก็ได้ ซึ่งความสามารถดังกล่าวทำให้ช่วยลดปัญหาความคับคั่งของข้อมูลในระบบได้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 4. บริดจ์ (Bridge)
 5. รีพีตเตอร์ (Repeater) คือ อุปกรณ์ทวนสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ระยะไกลขึ้น คือ รีพีตเตอร์จะปรับรูปแบบเดิม เพื่อได้สัญญาณสามารถส่งต่อไปได้อีก เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายแลนหลาย ๆ เซ็กเมนต์ ซึ่งความยาวของแต่ละเซ็กเมนต์นั้นจะมีระยะทางที่จำกัด ดังนั้น อุปกรณ์อย่างรีพีตเตอร์จะช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 5. รีพีตเตอร์ (Repeater)
    6.  โมเด็ม (Modem) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่งและภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้น ในการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน (Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด โมเด็มภายนอก (External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็น PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 6.  โมเด็ม (Modem)

            7.  เราเตอร์ (Router) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมโยงหลายๆ เครือข่าย หรืออุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน ดังนั้น จึงมีเส้นทางเข้า - ออกของข้อมูลได้หลายเส้นทาง และแต่ละเส้นทางอาจใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่ต่างกัน อุปกรณ์จัดเส้นทางจะทำหน้าที่หาเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อให้การส่งข้อมูลเปนไปอย่างมีประพสิทธิภาพ การที่อุปกรณ์จัดหาเส้นทางต้องรับรู้ตำแหน่งและสามารถนำข้อมูลออกเส้นทางได้ถูกต้องตามตำแหน่งแอดเดรสที่กำกับอยู่เส้นทางนั้น
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

            8.  เกตเวย์ (Gateway) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล หน้าที่หลักของเกตเวย์ คือ ช่วยทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่าย หรือมากกว่าที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน คือ ลักษณะของการเชื่อต่อ (Connectivity) ของเครือข่ายที่แตกต่างกัยน และมีโพรโตคอลสำหรับการส่ง - รับข้อมูลต่างกัน เช่น LAN เครือหนึ่งเป็นแบบ Ethernet และ โพรโตคอลแบบอะซิงโครนัส ส่วน LAN อีกเครือข่ายหนึ่งเป็นแบบ Token Ring และใช้โพรโตคอลแบบซิงโครนัสเพื่อให้สามารถติดต่อกันได้เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน เพื่อกำจัดวงให้แคบลงมา เกตเวย์โดยทั่วไปจะใช้เป็นเครื่องมือส่ง - รับข้อมูลกันระหว่าง LAN 2 เครือข่ายหรือ LAN กับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือระหว่าง LAN กับ WAN โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ เช่น X.25 แพ็กเกจสวิตซ์ เครือข่าย ISDN เทเล็กซ์ หรือเครือข่ายทางไกลอื่น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 8.  เกตเวย์ (Gateway)

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
                หมายถึง ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน
 ประเภทของระบบเครือข่าย
                ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามขนาดของเครือข่ายเป็น 3 ประเภทดังนี้
                 ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น 
(Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย
                ระบบเครือข่ายระดับเมือง 
(Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลางที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดใกล้เคียงกัน เช่น ระดับเคเบิ้ลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไป การฝากถอนเงินผ่านระบบเอทีเอ็ม เป็นต้น
                ระบบเครือข่ายระดับประเทศ 
(Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ใช้ติดต่อบริเวณกว้าง มีสถานีหรือจุดเชื่อมต่อมากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ หรือดาวเทียม และการใช้งานอินเทอร์เน็ตก็จัดว่าเป็นการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่ายระดับประเทศด้วย
 โครงสร้างเครือข่าย
                 คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมเทคโนโลยีการออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่า รูปร่างเครือข่าย” (Network Topology) เมื่อพิจารณาการเชื่อมโยงถึงกันของอุปกรณ์สำนักงานที่ใช้ต่างๆ หากต้องการเชื่อมต่อถึงกันโดยตรงจะต้องใช้สายเชื่อมโยงมาก

เครือข่ายแบบดาว (Star Topology)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


 เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 3.3 เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)
  

 เครือข่ายแบบบัส (Bus Topology)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 3.2 เครือข่ายแบบบัส (Bus Topology)