โปรแกรมประยุกต์สำหรับเครือข่าย
โปรแกรมประยุกต์ หรือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่น ในบางครั้งเรียกย่อว่า แอปพลิเคชั่น หรือ แอป คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบให้รับรองการทำงานหรือกิจกรรมหลายด้านเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ ตัวอย่างแอปพลิเคชั่นได้แก่ โปรแกรมประมวลคำ (word processor), แผ่นตารางทำการ (spreadsheet), แอปพลิเคชั่นบัญชี (accounting application), เว็บเบราว์เซอร์, แอปพลิเคชั่นเล่นคลิปสื่อ (media player), โปรแกรมจำลองการบิน (flight simulator), เกมคอนโซล, หรือ โปรแกรมตัดต่อภาพ คำว่าซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นหมายถึงแอปพลิเคชั่นทั้งหมด ส่วนคำว่าซอฟต์แวร์ระบบ (system software) มักหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ แอปที่ถูกสร้างสำหรับใช้งานบนมือถือเรียกว่าแอปมือถือ (mobile app)
บริการเวิลด์ไวด์เว็บ
WWW (World Wide Web) รู้จักกันดีในชื่อเครือข่ายใยแมงมุม เป็นบริการในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน บริการเวิลด์ไวด์เว็บเป็นสถาปัตยกรรมโครงข่ายสำหรับเชื่อมโยงเอกสารที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้สามารถสืบค้นได้ง่ายโดยมีการทำงานในลักษณะผู้ขอใช้บริการ-ผู้ให้บริการ (Client/Server) บริการเวิลด์ไวด์เว็บเกิดขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ.1989 โดย Tim Berners-Lee เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัย European Particle Physics (CERN) ในเจนิวา ตอนแรก Tim ต้องการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เก็บข้อมูลงานวิจัยในด้านฟิสิกส์ แต่พบว่าข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บไม่เหมาะกับการจัดเก็บลงฐานข้อมูลแบบเดิมที่มีใช้งานอยู่ในขณะนั้น Tim จึงได้หันมาใช้
วิธีการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลแบบ Hypertext (Hypertext Network of Information) ซึ่งทำให้เอกสารต่างๆที่มีอยู่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้
โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)
โปรแกรมไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นบริการรับส่งจดหมายผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งให้บริการได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการใช้บริการไปรษณีย์ธรรมดามาก สามารถรับส่งข่าวสารได้ทั้งแบบตัวอักษร ภาพ และเสียง ทำให้การติดต่อสื่อสารไม่มีขีดจำกัด และเป็นระบบที่ได้รับความนิยมในการใช้บริการสูงในเครือข่ายปัจจุบัน
โปรแกรม SSH (Secure Shell)
SSH เป็นโปรแกรมประยุกต์ในกลุ่มที่เรียกว่า Virtual Terminal ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน เรียกว่า Local host เป็นแป้นพิมพ์และจอภาพเสมือนของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เรียกว่า Remote host เพื่อใช้งานโปรแกรม ข้อมูล หรือทรัพยากรอื่นในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้ โดยผู้ใช้จะมีความรู้สึกเสมือนหนึ่งได้ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นโดยตรง การทำงานของVirtual Terminal เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างโปรแกรมผู้ขอใช้บริการ SSH บนเครื่อง Local host และโปรแกรมผู้ให้บริการ SSH บนเครื่อง Remote host
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น